วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นายธีรพันธ์ นามสกุล สุขหวัง
เกิดวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2531
อายุ 22 ปี สถาณภาพ ยังโสด หมู่เลือด B
สัญชาติไทย นับถือศาสสนาพุทธ์ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จาก
โรงเรียนบางเลนวิทยา ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ชั้นปีที่ 4

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การนั่งสมาธิ



การนั่งสมาธิตามแนววิปัสสนากรรมฐาน
เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับกรรมฐาน
กรรมฐาน มี ๒ แบบ คือ (๑) สมถกรรมฐาน (๒) วิปัสสนากรรมฐาน
การเจริญสมถกรรมฐาน เป็นการเจริญสมาธิเพื่อมุ่งหมายให้ได้ สมาธิที่กล้าและลึก เป็นการข่มกิเลสไว้ ณ ขณะที่กำลังมีสมาธิ แต่ไม่ได้ถอนหรือประหารกิเลสได้แม้แต่น้อย เมื่อหมดสมาธิ หรือเมื่อออกจากสมาธิ กิเลสก็กลับฟูขึ้นได้เหมือนเดิม หรือยิ่งกว่าเดิมได้ การเจริญสมถกรรมฐานจะได้ฌานและได้ อภิญญาคืออิทธิฤทธิ์ต่างๆ เมื่อได้แล้วก็อาจหลงติด หลงในฤทธิ์ ที่ตนได้มา และยังสามารถนำฤทธิ์นั้นไปใช้ในทางที่เป็นโทษได้
ส่วนการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น เป็นไปเพื่อการเพิ่มพูน ‘ปัญญา’ โดยส่วนเดียว การเจริญวิปัสสนากรรมฐานไม่ได้เน้นเอาสมาธิ ที่กล้าและลึก แต่เน้นการมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ทุกขณะ ปัญญาจากการเจริญสติและการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนี้ เป็นปัญญารู้แจ้งแทงตลอด รู้แจ้งในตน รู้แจ้งในทุกข์ รู้แจ้งความเป็นจริงของโลก รู้แจ้งกิเลส รู้เท่าทันกิเลส ปัญญาที่สะสมเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ จากการค่อยๆ รู้แจ้งเท่าทัน ในสิ่งทั้งปวงเหล่านี้เอง ที่จะค่อยๆ ประหารกิเลสเป็นขณะๆ ไป กิเลสก็จะเบาบางลงได้จริง เพราะไม่ได้ข่มไว้แบบสมถกรรมฐาน แต่ว่าค่อยๆ ตัดรากถอนโคนกิเลสไปทีละนิด กิเลสจึงตายไปได้ คือหมดไปได้ทีละน้อย ได้จริงๆ จนในที่สุดเมื่อปัญญาแก่กล้าจนถึงที่สุด ปัญญาตัวนี้ก็จะ สามารถประหารกิเลสให้หมดสิ้นไปได้ เป็นสมุจเฉทปหาน เมื่อกิเลสหมด บุคคลก็จะไม่ต้องเกิดอีก คือ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก
วิปัสสนากรรมฐาน
การเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น ท่านแนะนำให้ทำต่อเนื่องทุกวัน โดยท่านแนะให้เดินจงกรมก่อนทุกครั้ง แล้วประคองสติต่อจากการ เดินจงกรม ลงนั่งสมาธิ
(๑) ท่านั่ง - สำคัญตรงไม่นั่งพิงอะไร
การนั่งสมาธิแบบวิปัสสนา ต้องดูสัปปายะคือดูความเหมาะสมพอดีของตน จะนั่งเก้าอี้หรือนั่งขัดสมาธิกับพื้นโดยมีอาสนะบางๆ รอง หรือจะนั่งท่าหนึ่งท่าใดที่สบายแก่ตนก็ได้ (แต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน)
ดังนั้น จะนั่งห้อยเท้าบนเก้าอี้ หรือว่าจะนั่งกับพื้นขัดสมาธิอยู่ หรือจะนั่งท่าใดๆ ก็ตาม ก็ไม่เป็นไร ที่สำคัญคือ พยายามไม่นั่งพิง คือ พยายามนั่งให้หลังไม่พิงกับอะไร เพราะว่าตรงนี้สำคัญ คือ การเจริญสติอยู่นั้น ถ้าเมื่อได้หลังค้อมก้มลงมาข้างหน้า หรือหลังหงายไปไม่ตั้งตรงอยู่ ก็แสดงว่าผู้ปฏิบัติได้เผลอสติไป ดังนั้น การไม่นั่งพิงอะไร จะทำให้ดำรงสติอยู่ได้เสมอ และเมื่อเผลอหลับก็ตาม ตกภวังค์ก็ตาม หรืออาการใดๆ เกิด ที่ทำให้หลังไม่ตั้งตรงทรงอยู่อย่างมั่นคง ก็จะได้รู้ตัว และมีสติ ตั้งหลังให้ตรงอยู่เสมอๆ
(๒) การกำหนดสติ
ในการนั่งสมาธิแบบวิปัสสนา จะเป็นการมีสติดูอาการใดๆ ก็ตาม ที่เกิดขึ้นของกายก็ตาม ใจก็ตาม (คือ ที่ตาก็ตาม หู จมูก ลิ้น กายหรือใจก็ตาม) ในขณะนั้นๆ ในวินาทีนั้นๆ กล่าวคือ อะไรเด่นชัด ชัดเจนที่สุด ก็ดูตรงนั้นไปเรื่อยๆ อาทิ ถ้ากายปรากฏชัดเจน ก็เอาสติไปดูกาย ไปเรื่อยๆ ถ้าอาการพองยุบที่ท้องชัดเจน ก็มีสติตามรู้อาการไปเรื่อยๆ ถ้าการกระทบ อาทิ กายส่วนใดที่กำลังกระทบพื้นชัดเจน ก็มีสติ ตามดูตามรู้ไปเรื่อยๆ ถ้ามีเสียงใดๆ มากระทบหู (โสตปสาทหรือประสาทหู) ชัดเจน ก็กำหนดรู้ หรือถ้าเกิดความคิดนึกใดๆ ชัดเจน ก็กำหนดรู้ความคิดนึกนั้นๆ ถ้าเวทนาเกิด เช่นทุกข์หรือสุขทางกายหรือใจก็ตามเกิดขึ้น ก็กำหนดรู้ทุกข์หรือสุขนั้นๆ ไปเรื่อยๆ
(๓) นิมิต ปีติ นิวรณ์ วิปัสสนูปกิเลส
ขณะนั่งสมาธิอยู่ พยายามรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ อาจจะเกิดเห็นภาพต่างๆ ขึ้นมาทางตา เป็นภาพต้นไม้ป่าเขา สถานที่ สวรรค์ นรก ภูติผีปีศาจ เทวดา ฯลฯ ใดๆ ก็ตาม ก็เพียงกำหนดรู้ว่าเห็น แล้วก็กลับมาสติในกายและใจต่อไป โดยไม่ต้องสนใจภาพต่างๆ ที่เห็นนั้น ไม่ต้องนั่งคิดวิเคราะห์ต่อว่าเป็นภาพอะไร เป็นใคร อยู่ที่ไหน ไม่ต้องอยากรู้เรื่องต่อ ไม่ต้องตามไปดูว่าเหตุการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป ฯลฯ เพียงกำหนดรู้ว่ามีภาพ (สี หรือ รูปภายนอก) มากระทบกับ ตา (จักขุปสาท หรือ ประสาทตา ซึ่งเป็น รูปภายใน) เท่านั้น อันนี้คือ ‘นิมิต’ นิมิตนี้จะมาในรูปของภาพต่างๆ มาเกิดทางตาก็ได้ มาในรูปของเสียง กลิ่น รส ฯลฯ ก็ได้ หน้าที่ของผู้เจริญสติเจริญวิปัสสนาอยู่นั้น ก็เพียงมีสติกำหนดรู้ว่าสิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นมากระทบกับตา หรือ หู จมูก ลิ้น กาย เท่านั้น แล้วก็ไม่ต้องสนใจต่อนิมิตนั้นๆ ต่อ หันกลับมาเจริญสติรู้ตัวทั่วพร้อม ในอาการอื่นๆ ตรงกายก็ตามหรือใจก็ตามที่กำลังปรากฏชัด ต่อไป
ถ้าหากนั่งสมาธิ (หรือเวลาเดินจงกรมก็ตาม) อยู่ เกิดตัวโยก ตัวโคลง หรือตัวเบาเหมือนจะลอย หรือน้ำตาจะไหล หรือรู้สึกเย็นร้อนขึ้นมา ตรงกายส่วนหนึ่งส่วนใด อาการใดๆ เหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อใด ก็กำหนดรู้ ไม่ต้องตื่นเต้น ไม่ต้องตกใจ กำหนดรู้ไปเบาๆ สบายๆ และไม่ต้อง ไปสนใจเค้ามาก ถ้ากำหนดรู้แล้วเค้ายังไม่หายไป ไม่ดับไป ก็ค่อยๆ กำหนดสติออกจากสมาธิลืมตาก่อนสักพัก แล้วค่อยหลับตา เจริญสติต่อไป อาการเหล่านี้ เป็นอาการของ ‘ปีติ’ คือ จิตที่ได้มาเจริญ สมาธิ จิตจะเกิดความสงบ ความสงบจากสมาธินั้น เป็นอาหารของ จิตใจ จิตเมื่อได้อาหารที่ชอบก็จะเกิดปีติ ซึ่งแสดงออกมาใน รูปแบบต่างๆ หลากหลาย ผู้ที่ปรารภความเพียรหรือผู้เจริญสติอยู่ มีหน้าที่เพียงกำหนดรู้สิ่งเหล่านี้ และไม่คล้อยตามไปกับอาการเหล่านี้ คือ กำหนดรู้แล้วระยะหนึ่งอาการเหล่านี้ควรจะดับไป ถ้าอาการเหล่านี้ ดูจะยิ่งขยายใหญ่ขึ้นหรือหนักหนาขึ้น อาทิ กายจะลอยจริงๆ หรือน้ำตา ไหลแรงขึ้น ฯลฯ ก็ควรรีบกำหนดออกจากสมาธิ เพื่อไม่ให้อาการเหล่านี้ รุนแรงขึ้นจนผู้ปฏิบัติใหม่ไม่สามารถจะออกจากสมาธิได้ ปีติหรือพระธรรมปีติ เป็นของดี เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ ไม่เป็นอันตราย แต่ถ้ามากไปแรงไป ก็จะกลายเป็นอาการที่สมาธิยิ่งเกิน คือ สมาธิมากไป เกินพอดี จึงควรกำหนดให้อาการเหล่านี้หายไปหรือควรจะออกจาก สมาธิก่อน เพื่อไม่ให้อาการเหล่านี้ยิ่งเกินไป คือ เกินพอดีไป
ถ้าหากนั่งสมาธิอยู่ แล้วเกิดความรู้สึกพอใจรักใคร่อยากได้อะไรขึ้นมา ก็กำหนดรู้ความรู้สึกพอใจรักใคร่อยากได้นั้นๆ (กามฉันทนีวรณ์) ถ้าเกิดความรู้สึกโกรธ ไม่พอใจ คิดร้ายใครหรือเรื่องอะไร (พยาปาทนีวรณ์) ก็กำหนดรู้ ถ้าเกิดความฟุ้งซ่านรำคาญใจใดๆ (อุทธัจจกุกกุจจนีวรณ์) ก็กำหนดรู้อยู่ หรือถ้าเกิดความสงสัย ในข้อธรรมต่างๆ ก็ตามขึ้นมา (วิจิกิจฉานีวรณ์) ก็กำหนดรู้อาการสงสัยนั้นๆ ไป (กำหนดรู้อาการที่สงสัย อาการความสงสัย ไม่ใช่กำหนดรู้เรื่องราวที่สงสัย) ไม่ว่าอย่างหนึ่งอย่างใดเหล่านี้เกิดขึ้น ก็เพียงกำหนดรู้ไปเรื่อยๆ ตามสังเกตตามดูไปเรื่อยๆ จนกว่าอาการหรือสภาพ (สภาพธรรม) หรือสภาพธรรมชาติที่เกิดขึ้นนั้น จะเบาบางลงหรือหมดไป ดับไป หรือกำหนดรู้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีสภาพทางกายหรือทางใจใดๆ ที่เป็นสภาพใหม่ปรากฏขึ้นชัดเจนกว่า ก็วางอาการนี้ไปกำหนด อาการใหม่แทน อาการทั้งหมดในย่อหน้านี้ คือ ‘นิวรณ์’ (สิ่งหรือธรรมที่กั้นจิตใจไม่ให้บรรลุความดีหรือปัญญา)
ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ณ ช่วงใดช่วงหนึ่ง ผู้ปฏิบัติอาจประสบ กับปรากฏการณ์ต่อไปนี้ ที่เรียกกวันว่า ‘อุปกิเลส ๑๐’ หรือที่เรียกว่า ‘วิปัสสนูปกิเลส’ วิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๑๐ นี้ ท่านว่าจะปรากฏขึ้นแก่ผู้ที่ ปฏิบัติมาถูกทางแล้วเท่านั้น แต่ข้อสำคัญคือ ผู้ปฏิบัติจะต้องมีสติรู้ ในอาการใดๆ อาการหนึ่งหรือหลายอาการใน ๑๐ อย่างนี้ อย่างรู้เท่าทัน ไม่ยึดติด ไม่หลงดีใจ ไม่เข้าใจผิดคิดว่าตนคงพ้นกิเลสแล้ว เพราะได้ สัมผัสสิ่งเหล่านี้สิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่ง คือ (๑) เห็นโอภาส คือ เห็นแสงสว่างในรูปแบบต่างๆ อาจเท่าแสงหิ่งห้อย ไปจนสว่างทั้งห้อง สว่างทะลุห้อง ฯลฯ (๒) เกิดปีติต่างๆ ตามที่มีรายละเอียดข้างบนแล้ว (๓) เกิดความสงบ (ปัสสัทธิ) จะสงบเงียบ สบบสบาย ไม่ฟุ้งซ่าน เยือกเย็น ไม่กระวนกระวายใจ เบา คล่องแคล่วในการกำหนด ความคิดปลอดโปร่ง (๔) เกิดความสุข ความสบาย ยินดีมาก เพลิดเพลิน สนุกสนานในการ กำหนด ไม่อยากออกจากสมาธิ ภูมิใจดีใจคล้ายจะระงับไม่ได้ หรือ รู้สึกคล้ายกับไม่เคยสุขอะไรอย่างนี้มาก่อน (๕) เกิดศรัทธา เกิดความเชื่อและเลื่อมใสมาก อยากจะให้ทุกคน ได้มาปฏิบัติบ้าง อยากให้การปฏิบัติก้าวหน้าเร็วๆ อยากทำบุญทำทาน นึกถึงบุญคุณของผู้ชวนเรามาปฏิบัติ อยากจะปฏิบัตินานๆ ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติเต็มที่ (๖) เกิดความเพียร (ปัคคาหะ) ขยันมากไป (ตรงนี้ต้องระวัง เพราะ เพียรเกินไปครูบาอาจารย์บอกว่าอาจทำให้เสียสติได้ จึงต้องตั้งอยู่ใน ทางสายกลางคือความพอดีๆ เสมอ) ตั้งใจจริง ปฏิบัติจริง ยอมสู้ตาย ไม่ถอยหลัง มีความเพียรมากแต่ถ่ายเดียว แต่สติสัมปชัญญะอ่อนไป ทำให้ฟุ้ง ไม่เป็นสมาธิ (๗) อุปัฏฐานะ (สติ) สติมากเกินจนทิ้งการกำหนดรู้ปัจจุบันไปคิดถึง อดีต อนาคต อาจรู้สึกคล้ายกับตนระลึกชาติได้ (๘) เกิดความรู้ (ญาณ) ที่รู้แบบเข้าใจผิด คิดไปเองว่าตนรู้ถูกแล้ว นึกถึงความรู้ที่ได้ศึกษาเรียนมา วิพากย์วิจารณ์อารมณ์หรือ อาการต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้น (๙) อุเบกขา - เกิดการวางเฉย ใจเฉยๆ ไม่ยินดี ไม่เสียใจ ใจลอยๆ เลือนๆ คล้ายกับว่าไม่ได้นึกไม่ได้คิดอะไร ไม่กระวนกระวาย ใจสงบดี ไม่อยากได้ดิบได้ดีอะไร อารมณ์ดีหรือไม่ดีมากระทบก็เฉยๆ ไม่ยินดียินร้าย แต่ไม่ได้กำหนด ปล่อยใจให้ลอยไปตามอารมณ์ภายนอกมาก (๑๐) นิกันติ - เกิดความพอใจในอารมณ์ต่างๆ อาทิ นับแต่ข้อ ๑ ถึง ๙ พอใจในนิมิตต่างๆ อันนี้ต้องระวัง ท่านว่านิกันตินี้เอง จะทำให้บุคคลที่ ปฏิบัติติดอยู่ในวิปัสสนูปกิเลสต่างๆ จนติดชะงักอยู่ตรงนี้ ไม่ก้าวหน้า ต่อไปได้
วิปัสสนูปกิเลสนี้ ต้องระวัง คือ เมื่อปรากฏเกิดขึ้น ก็เพียงมีสติกำหนดรู้ และไม่ไปยึดติด ลุ่มหลง ท่านว่าบางคนก็ถึงกับนึกหรือเชื่อว่าตนเอง หมดกิเลสแล้ว บรรลุแล้วก็มี ทางที่ดีนั้น ในการปฏิบัติหรือฝึกฝนจึงควรจะ มีครูบาอาจารย์หรือผู้รู้ที่มีประสบการณ์มาก รู้ดีและรู้ตรง คอยแนะนำ บอกทางเดินในทุกระยะ เพื่อจะได้เจริญก้าวหน้าทางปัญญาต่อไปเรื่อยๆ ไม่ติดขัดหรือหยุดชะงักหรือไม่ไปผิดทาง ไม่เฉไฉออกจากทางที่ดีที่ตรงสู่ การพ้นทุกข์ไปเสียก่อน
ารนี้

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2552


ศาลประหารชีวิต 3 นักศึกษาช่างกล
ประหารชีวิต 3 นศ.ช่างกลปทุมวัน รุมสังหารโหด "นศ.อุเทนถวาย"คู่อริต่างสถาบัน ขี่ จยย. ตามประกบในซอยลาดพร้าว 126 ระดมยิง-แทงจนจบชีวิตอนาถ โชคยังดีในชั้นสอบสวนทั้งหมด ให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์ ศาลปรานีลดโทษให้เหลือจำคุกตลอดชีวิต แต่ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายกว่า 4 ล้านบาท ให้กับทางมารดาคนตายด้วย ส่วนคดี นศ. “เทคนิคกรุงเทพ” รับน้องพิสดาร ฉีดสเปรย์พ่นไฟแผ่นหลัง ศาลตัดสินจำคุก 2 เดือน แต่ให้รอลงอาญา 1 ปี โดยต้องรายงานตัวทุก 3 เดือนครั้ง บำเพ็ญประโยชน์ 48 ชม. หากแหกกฎจำคุกจริงทันที ที่ห้องพิจารณาคดี 710 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก เมื่อวันที่ 29 ก.ค. ศาลมีคำพิพากษาคดีความผิดต่อชีวิตที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา และนางเตือนจิตต์ วิริยารัมภะ ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสุทธินันท์ หรือตู๋ หวังหอมกลาง อายุ 23 ปี นายมงคล หรือเหยิน ศรีพูล อายุ 25 ปี และนายชาตรี หรือปิ๊ก จูวรรณะ อายุ 26 ปี ทั้ง 3 คน เป็นนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1-3 ตามลำดับ ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรอง กระทำผิด พ.ร.บ.อาวุธปืน ตามฟ้องโจทก์เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 49 ระบุความผิดจำเลยสรุปว่า เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 49 เวลากลางคืน จำเลยกับพวกที่ยังหลบหนีได้ร่วมกันใช้อาวุธปืนรีวอลเวอร์ขนาด .38 และอาวุธมีด รุมยิงและแทงตามร่างกายและศีรษะนายเบญจพล หรือโต้ง วิริยารัมภะ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย จนถึงแก่ความตาย เหตุเกิดภายในซอยลาดพร้าว 126 แขวง-เขตวังทองหลาง ต่อมาวันที่ 7 ก.ย. 49 ตำรวจ สน.วังทองหลาง ติดตามจับกุมตัวจำเลยทั้ง 3 คนได้ตามหมายจับของศาลอาญา พร้อมอาวุธปืนและของกลางอีกหลายรายการ ทั้งนี้นางเตือนจิตต์ มารดาผู้ตายยื่นคำร้องขอให้พวกจำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วมพร้อม ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องรวมเป็นเงิน 4,326,500 บาท ในชั้นสอบสวนพวกจำเลยให้การรับสารภาพ แต่ให้การปฏิเสธในชั้นศาล โดยอ้างสถานที่อยู่ และสาเหตุที่ยอมรับสารภาพอ้างเพราะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจซ้อม ศาลพิเคราะห์คำเบิกความและพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายนำสืบหักล้างกันแล้ว เห็นว่า พยานโจทก์หลายปากเบิกความสอดคล้องแสดงถึงพฤติการณ์ของพวกจำเลย โดยจำเลยที่ 3 ขี่จยย. มา โดยมีจำเลยที่ 1 นั่งซ้อนท้าย และใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย 2-3 นัดจนล้มลง ส่วนจำเลยที่ 2 กับพวกขี่ จยย. ตามมาก็ใช้ปืนยิงผู้ตายอีก 6 นัด และเห็นนายเอ ไม่ทราบนามสกุล ใช้มีดแทงตามร่างกายผู้ตายหลายครั้ง อีกทั้งชั้นสอบสวนพวกจำเลยก็ให้การรับสารภาพถึงรายละเอียดนำชี้ที่เกิดเหตุ พยานโจทก์จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือรับฟังโดยปราศจากข้อสงสัยว่าพวกจำเลยร่วมกันฆ่าผู้ตายจริง ข้ออ้างจำเลยฟังไม่ขึ้น จึงพิพากษาฐาน ฆ่าผู้อื่น ให้ลงโทษประหารชีวิต ส่วนโทษฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุกคนละ 2 ปี พกพาอาวุธปืนไปตามทางสาธารณะ จำคุกคนละ 1 ปี และพกพาอาวุธมีด ปรับคนละ 90 บาท จำเลยให้การรับสารภาพชั้นสอบสวน ลดโทษให้ 1 ใน 3 เหลือจำคุกพวกจำเลยทั้งสามตลอดชีวิต ปรับคน ละ 60 บาท ริบของกลาง และเห็นสมควรให้พวกจำเลยร่วมกันชำระเงินค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วมตามที่ร้องขอ 4,326,500 บาท นอกจากนี้ช่วงสายวันเดียวกัน ที่ห้องพิจารณาดี 20 ศาลแขวงพระนครใต้ ถนนเจริญกรุง ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีศาลแขวงพระนครใต้ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายโอภาส หรือโอม ทิมคลองธรรม, นายมานพ หรือนพ เกิดศิริ และนายกีรติ หรือ ต้อม เริงอาจ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (เทคนิคกรุงเทพ) เป็นจำเลยที่ 1-3 ในความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นอันตรายแก่กายและจิตใจ โจทก์บรรยายฟ้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 50 จำเลยได้ร่วมกันจัดกิจกรรมรับน้องใหม่ด้วยวิธีรุนแรงโดยใช้สีสเปรย์ฉีดพ่นรูปกงจักรบนแผ่นหลังของ นายสุรเดช สุวรรณรัตน์ อายุ 20 ปี ผู้เสียหาย นักศึกษารุ่นน้องชั้นปีที่ 1 แล้วใช้ไฟแช็กจุดไฟเผาจนเป็นแผลพุพอง ได้รับบาดเจ็บ เหตุเกิดที่แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร ศาล พิเคราะห์แล้วเห็นว่า จากพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสาม แล้วเห็นว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องจริงฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นอันตรายแก่กายและจิตใจ พิพากษาให้ลงโทษจำคุกคนละ 2 เดือน ปรับ 2,000 บาท อย่างไรก็ตาม จากการสืบเสาะประวัติของจำเลย มีประวัติทางครอบครัวและการเรียนในเกณฑ์ดี หลังก่อเหตุได้สำนึกและได้บรรเทาผลร้าย นำเอกสารที่เข้าร่วมการอบรมธรรมะในโครงการ “คนดีศรีวิศวะ” มาประกอบพิจารณาจึงเห็นสมควรให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมือง ดีต่อไป โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 1 ปีให้ราย งานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 3 เดือนต่อครั้งและให้บำเพ็ญประโยชน์ เป็นเวลา 48 ชม. โดยให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาอย่างเคร่งครัด หาก กระทำผิดซ้ำในระหว่างรอการลงโทษศาลจะให้ลงโทษจำคุกทันที.ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

พระราชประวัติ พระพี่นางฯ


พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นพระธิดาพระองค์แรกใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ณ สถานพยาบาล กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พระนามในพระสูติบัตรเมื่อแรกประสูติ คือ เมย์ ตามเดือนที่ประสูติ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงมีพระอนุชา ๒ พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระภัทรมหาราช พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา และ ในพ.ศ. ๒๔๗๘ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเฉลิมพระเกียรติเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ครั้นเมื่อทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖ รอบ ใน พ.ศ. ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาพระอิสริยศักดิ์ เป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในตามธรรมเนียมราชประเพณีเป็นพระองค์แรกในรัชกาลทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์


หลังจากที่ประสูติได้ไม่นานนัก สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงย้ายจากกรุงลอนดอนไปประทับอยู่ที่เมืองเซาท์บอน ทางฝั่งตะวันออก และหลังจากนั้นไปประทับที่เมืองบอสคัม ทางชายฝั่งทะเลด้านใต้ของประเทศอังกฤษ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ประทับ ณ ประเทศอังกฤษ จนถึงเดือน ต.ค. พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้ตามเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี เสด็จกลับประเทศไทย
เมื่อเสด็จถึงประเทศไทย สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้พระราชทานพระตำหนักใหญ่ของวังสระปทุมเป็นที่ประทับ พระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตดุล ซึ่งเป็นพระสหายสนิทของสมเด็จพระบรมราชชนนี ระหว่างที่ทรงศึกษาวิชาพยาบาลที่โรงพยาบาลศิริราช เป็นผู้ถวายการอภิบาล
ต่อมาพ.ศ. ๒๔๖๘ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ตามเสด็จ สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนีไปประเทศเยอรมนีและประเทศฝรั่งเศส

เมื่อแรกประสูติ ดำรงพระอิสริยยศเป็นหม่อมเจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา มหิดล (พระนามพระราชทานโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) สถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา โดยคณะผู้สำเร็จราชการในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล



การศึกษา
ใน พ.ศ. ๒๔๖๙ สมเด็จพระบรมราชชนก เสด็จกลับประเทศไทย เพื่อทรงร่วมในพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างนั้น สมเด็จพระบรมราชชนนี ได้ทรงนำพระธิดาและพระโอรสพระองค์ แรกไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และทรงฝากให้อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กโซเลย์ (Champ Soleil) หลายเดือน สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จึงทรงเริ่มรับสั่งภาษาฝรั่งเศส
ในปลาย พ.ศ. ๒๔๖๙ สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงนำครอบครัวไปประทับที่เมืองบอสตัน (Boston) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อทรงศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเริ่มศึกษาในระดับอนุบาลที่โรงเรียนพาร์ค (Park School) ใน พ.ศ. ๒๔๗๑
เมื่อสมเด็จพระบรมราชชนกทรงสำเร็จการศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาด (Harvard) จึงได้ทรงนำครอบครัวเสด็จกลับประเทศไทย และประทับ ณ พระตำหนักใหญ่ วังสระปทุม สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเข้าศึกษาในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนราชินี และทรงศึกษาอยู่จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๖ ภายหลังที่สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จทิวงคตใน พ.ศ. ๒๔๗๒ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประทับอยู่ที่กรุงเทพฯ ต่อไปอีกระยะหนึ่ง จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๖ สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงได้รับพระบรมราชานุญาตให้นำพระโอรส-พระธิดาทั้ง ๓ พระองค์ไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เข้าศึกษาในโซเลย์อีกครั้งหนึ่ง เป็นเวลา ๒ เดือน แล้วจึงเข้าศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาชื่อเมียร์มองต์ (Miremont) การศึกษาที่เมียร์มองต์นั้นครูมีการอ่านเรื่องสั้น ๆ ให้ฟัง นักเรียนจะต้องเขียนเรื่องที่ได้ฟังส่งให้ครูตรวจ ในระยะแรกทรงเขียนได้เพียง ๑ บรรทัด จากเรื่องยาวประมาณครึ่งหน้ากระดาษที่ครูอ่าน ครั้งหนึ่งครูให้เขียนประโยคเกี่ยวกับ TAON (ตัวเหลือบ) ทรงเข้าพระทัยคิดว่าเป็น PAON (นกยูง) เพราะเสียงคล้ายกัน จึงทรงเขียนว่า “TAON เป็นนกที่สวยงาม” แต่อีกต่อมาประมาณ ๒ ปี ก็ทรงเขียนร่วมกับนักเรียนชาวสวิตได้อย่างดี จนจบชั้นประถมศึกษา
พ.ศ. ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศสละราชสมบัติ และรัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลขึ้นครองราชย์สมบัติ หลังจากนั้นสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงนำพระโอรส-พระธิดา ไปประทับที่บ้านซึ่งพระราชทานนามว่า วิลล่าวัฒนา (Villa Vadhana) เมืองปุยยี ใกล้กับโลซาน
พ.ศ. ๒๔๗๘ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสตรี ชื่อ ?cole Sup?rieure de Jeunes Filles de la Ville de Lausanne ชั้นมัธยมศึกษาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์นับจาก ชั้น ๖ ๕ ๔ ๓ ๒ ๑ ทรงสามารถสอบเข้าชั้น ๕ ในระดับมัธยมศึกษาได้ ทรงเรียนภาษาเยอรมันและภาษาละตินด้วย พ.ศ. ๒๔๘๑ ทรงย้ายไปศึกษาต่อที่เจนีวา ในลักษณะของนักเรียนประจำที่ International School of Geneva ทรงสอบผ่านชั้นสูงสุดของระดับมัธยมศึกษาได้เยี่ยมเป็นที่ ๑ ของโรงเรียน และที่ ๓ ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์
พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้เสด็จเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโลซานน์ในคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมี ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี และได้รับ Dipl?me de Chimiste A เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ ในระหว่างที่ทรงศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยโลซานน์ ได้ทรงเข้าศึกษาหลักสูตรของสังคมศาสตร์ - ครุศาสตร์ Diplime de Sciences Sociales Podagogiques อันประกอบด้วยวิชาต่าง ๆ ในสาขาวิชาการศึกษา วรรณคดี ปรัชญา และจิตวิทยา แม้เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชาเคมีแล้ว ก็ยังทรงศึกษาวิชาวรรณคดีและปรัชญาต่อไปอีกด้วยความสนพระหฤทัย




การทรงงาน
เมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จนิวัติประเทศไทยใน พ.ศ. ๒๔๙๓ สมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงทราบดีว่าพระธิดาโปรดการเป็นครูมาแต่ทรงพระเยาว์ ได้รับสั่งแนะนำให้ทรงงานเป็นอาจารย์ จึงทรงรับงานเป็นอาจารย์พิเศษสอนภาฝรั่งเศสที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงสอนวิชาสนทนาภาษาฝรั่งเศส วิชาอารยธรรมฝรั่งเศส และวิชาวรรณคดีฝรั่งเศส นิสิตที่ได้มีโอกาสเป็นศิษย์ด้วยล้วนปีติยินดีในพระกรุณาธิคุณยิ่งนัก หลายคนรำลึกได้ว่าในวิชาวรรณคดีฝรั่งเศสทรงสอนผลงานของ Victor Hugo นักประพันธ์เอกของโลก สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงสอนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๑ ใน พ.ศ.๒๕๑๒ คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ขอรับพระราชทานพระกรุณาให้ทรงเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทรงรับงานสอนและงานบริหารโดยทรงเป็นหัวหน้าสาขาสอนวิชาภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศส และผู้อำนวยการภาษาต่างประเทศ อันประกอบด้วยภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น และรัสเซีย สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงสอนวิชาภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสแก่นักศึกษาชั้นปีต่าง ๆ และทรงดูแลการสอนของอาจารย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
นอกจากนี้ได้ทรงจัดทำหลักสูตรระดับปริญญาตรีภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสจนสำเร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นหลักสูตรที่ผสมผสานความรู้ด้านภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม
ในระหว่างที่ทรงปฏิบัติงานสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กราบทูลเชิญเป็นองค์บรรยายพิเศษตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๕ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เมื่อพระราชกิจด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ จึงทรงลาออกจากตำแหน่งอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ก็ยังเสด็จเป็นองค์บรรยายพิเศษต่อไปอีก นอกจากนั้น ยังทรงรับเป็นองค์บรรยายพิเศษวิชาภาษาฝรั่งเศสในคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อีกด้วย
ต่อมาเมื่อทรงทราบปัญหาการขาดแคลนอาจารย์ของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพราะเป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในจังหวัดห่างไกลและมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย ก็ได้พระราชทานพระเมตตา เสด็จไปทรงสอนวิชาภาษาฝรั่งเศสโดยประทับอยู่ในวิทยาเขตปัตตานี ดังเช่นอาจารย์อื่น ๆ ระหว่างที่ทรงงานสอน ได้ทรงร่วมกิจกรรมทางวิชาการหลายด้าน เช่น ทรงเป็นกรรมการสอบชิงทุน ก.พ. ไปศึกษาต่อต่างประเทศ ทรงเป็นประธานออกข้อสอบภาษาฝรั่งเศสในการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ หลังจากที่ปฏิบัติงานด้านการสอนมาจนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ทรงได้รับการโปรดเกล้าฯ พระราชทานตำแหน่ง ศาสตราจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยพระปรีชาญาณจากประสบการณ์ที่ทรงงานสอนภาษาฝรั่งเศสมาเป็นระยะเวลานาน จึงทรงตระหนักถึงปัญหาความต่อเนื่องในการเรียนภาษาฝรั่งเศสระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ทรงริเริ่มก่อตั้งสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การปรับปรุงวิธีการสอนทั้งระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ทรงดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๐ จนถึง พ.ศ. ๒๕๒๔ จากนั้นก็ทรงดำรงตำแหน่งนายกกิตติมศักดิ์สมาคมฯ มาจน
ถึงปัจจุบัน สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้พระราชทานพระอนุเคราะห์แก่สมาคมฯ ในทุกทาง อาทิ ทรงสนับสนุนการพิมพ์วารสารของสมาคม เพื่อเผยแพร่ความรู้ใหม่ ๆ พระราชทานพระนิพนธ์บทความลงวารสาร ทรงส่งเสริมให้สมาชิกครูได้เข้ารับการสัมมนา ดูงานและศึกษาต่อ เป็นต้น การเรียนการสอนวิชาภาษาฝรั่งเศสและการวิจัยด้านภาษาฝรั่งเศสในประเทศไทยทั้งระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษาจึงเจริญรุดหน้าเป็นลำดับ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายพระราชทานความช่วยเหลือให้แก่ประเทศชาติ แบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีโครงการในพระอุปถัมภ์หลายร้อยโครงการ ทั้งด้านการแพทย์ ประวัติศาสตร์ ดนตรี ศิลปะ สัตว์เลี้ยง ฯลฯ นอกจากนี้ยังทรงพระอัจฉริยภาพในด้านการประพันธ์ พระนิพนธ์ที่มีชื่อเสียง เช่น เวลาเป็นของมีค่า แม่เล่าให้ฟัง จุฬาลงกรณ์ราชสันตติวงศ์ และ มหามงกุฎราชสันตติวงศ์
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ทรงสำเร็จการศึกษา วิทยาศาสตร์ด้านวิชาเคมี ควบคู่กับวิชาการศึกษา วรรณคดี ปรัชญา และ จิตวิทยา เมื่อเสด็จนิวัตประเทศไทย ได้ทรงรับคำกราบบังคมทูลเชิญจากสถาบันการศึกษาหลายแห่ง เพื่อให้ทรงบรรยายและเป็นพระอาจารย์ประจำสถาบันต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายปี
ระหว่างพุทธศักราช 2493-2501 เป็นพระอาจารย์ในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงสอนวิชาสนทนาภาษาฝรั่งเศส และวรรณคดีฝรั่งเศส
พุทธศักราช 2512 ทรงรับเป็นอาจารย์ประจำที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทรงสอนและทรงงานด้านการบริหารในหน้าที่หัวหน้าสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ป่น จีน และ รัสเซีย ทรงเป็นผู้ดูแลและจัดทำหลักสูตร ดูแลการสอนของอาจารย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ





พุทธศักราช 2516 ทรงจัดทำหลักสูตรปริญญาตรีสาขาภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสสำเร็จ ด้วยการผสมผสานความรู้ด้านภาษาและวรรณคดีให้เข้ากันอย่างเหมาะสม ทรงเป็นอาจารย์ประจำอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 8 ปี จากนั้นจึงทรงขอเป็นอาจารย์พิเศษอย่างเดียวด้วยต้องทรงติดตามพระราชภารกิจในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้านหน่วยแพทย์เคลื่อนที่
อย่างไรก็ตาม น้ำพระหฤทัยในความเป็นครูนั้นเปี่ยมล้นมิเหือดหาย ทรงรับเป็นอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ขอมาตลอด ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เชียงใหม่ สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี หลายรุ่น ด้วยประสบการณ์และพระปรีชาญาณในการสอนภาษาฝรั่งเศสเป็นเวลาอันยาวนาน
พุทธศักราช ๒๕๐๒ ทรงก่อตั้ง "สมาคมครูสอนภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย" เพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้ในการแก้ไขการสอนให้กับบรรดาครูทั้งหลาย
ทรงได้รับการถวายพระเกียรติจากรัฐบาลฝรั่งเศส ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญตราชั้นสูงสุด ด้านศิลปะและอักษรศาสตร์ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๒ สนพระทัยการศึกษาของเยาวชน ได้อุปถัมภ์โครงการ "โอลิมปิควิชาการ" เพื่อการแข่งขันและพัฒนาวิชาการวิทยาศาสตร์ในประเทศให้ก้าวทันสากล
ทรงสร้างสื่อการเรียนให้แก่เด็กเล็กในโรงเรียนชายแดน ที่มิได้มีโอกาสเรียนชั้นอนุบาล เพื่อสามารถอ่านเขียนทันเด็กที่เรียนล่วงหน้าไปก่อนเกณฑ์ และร่วมสร้างโรงเรียนในความดูแลของตำรวจตระเวนชายแดน ส่วนเด็กในกรุงเทพมหานครนั้น ทรงให้ความอนุเคราะห์เด็กเล็กในสลัมต่างๆ
แม้ว่าจะทรงงานการสอนมากมาย หากแต่พระกรณียกิจสำคัญที่ทรงปฏิบัติสืบเนื่องมาตั้งแต่แรก คือ การสนองพระราชประสงค์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยตามเสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศ นอกจากการพระราชทานสิ่งอำนวยความสะดวกเครื่องใช้ประจำวัน และยารักษาโรคจากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ที่ตามเสด็จแล้ว สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ยังโปรดส่งเสริมการเรียนการสอนของโรงเรียนท้องถิ่นต่าง ๆ ที่เสด็จถึงอีกด้วย
เมื่อทรงหยุดการสอน พระกรณียกิจส่วนใหญ่ จึงเป็นงานสังคมสงเคราะห์ ทั้งด้านการแพทย์ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม นอกจากช่วยโครงการแพทย์อาสาในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พอ.สว. แล้ว มีมูลนิธิ กองทุน สมาคม ศูนย์สงเคราะห์ อีกจำนวนมากกว่า 30 รายการ ที่พระองค์ทรงมีภาระในการบริหาร เช่น มูลนิธิโรคไต มูลนิธิเด็กโรคหัวใจ มูลนิธิขาเทียม มูลนิธิสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม มูลนิธิโลกสีเขียว กองทุน "หมอเจ้าฟ้า" กองทุนการกุศล กว. กองทุนการกุศล "สมเด็จย่า" สมาคมปราบวัณโรคเชียงใหม่ สมาคมพยาบาลสาธารณสุขไทย ศูนย์เด็กอ่อนวัยก่อนเรียน ณ ศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์เนื้อเยื่อชีวภาพกรุงเทพฯ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เป็นต้น
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงได้รับการอภิบาลให้มีพระจริยวัตรโปรดการอ่าน การศึกษามาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ สั่งสมประสบการณ์ทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ โบราณคดี สิ่งแวดล้อม และทรงนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองตลอดเวลา
ทรงเป็นกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ทรงเป็นพระราชวงศ์ฝ่ายในที่ทรงกรมเป็นพระองค์แรกและพระองค์เดียวในรัชกาล และเป็นพระราชวงศ์ทรงกรมพระองค์เดียวในปัจจุบัน) เมื่อพระชนมายุครบ 72 พรรษา เสมอด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อทรงเสกสมรสกับ พันเอกอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ มีพระธิดาหนึ่งพระองค์ คือท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม (สมรสกับนายสินธู ศรสงคราม มีบุตร คือคุณจิทัศ ศรสงคราม)
เมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ให้กลับคืนดำรงพระอิสริยศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ทุกประการ
ต่อมา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ทรงเสกสมรสอีกครั้งกับ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช (พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธารดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย และหม่อมระวี ไกยานนท์)
ด้วยความสนพระทัยในศาสตร์ทั้งหลาย จึงทรงเป็นทั้งเจ้าฟ้านักประพันธ์ และเจ้าฟ้านักวิชาการ มีหนังสือพระนิพนธ์จำนวนมาก ที่จัดพิมพ์ขึ้นให้ได้ศึกษาหาความรู้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเรื่อง แม่เล่าให้ฟัง หรือ ยุวกษัตริย์ มิใช่เป็นเรื่องประวัติบุคคลด้านเดียว หากแต่ให้ความเข้าใจทั้งประวัติศาสตร์ ประเพณี การเมือง อันเป็นวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งมีความสนุกสนานสอดแทรกไว้อย่างกลมกลืน หรือสารคดีข่าวเกี่ยวกับการเสด็จไปทัศนศึกษาในต่างถิ่น เป็นสิ่งที่ชาวไทยโชคดีที่ได้มีโอกาสเห็น เสมือนร่วมเดินทางไปกับพระองค์ด้วย โดยจะทรงพิถีพิถันให้จัดทำเป็นสารคดีท่องเที่ยวสั้นๆ ที่มากด้วยความรู้ นำเผยแพร่เกือบทุกครั้งทำให้ผู้ที่ไม่มีโอกาสไปถึง หูกว้างตากว้างไปด้วย
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เสด็จประทับรักษา พระอาการประชวร ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราชพยาบาล ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มิ.ย. ๒๕๕๐ แม้ว่าคณะแพทย์ฯ ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และได้สิ้นพระชนม์เมื่อเวลา ๐๒.๕๔ น. วันที่ ๒ ม.ค. ๒๕๕๑ รวมพระชันษา ๘๔ ปี